โรงเรียนนานาชาติ ในประเทศไทย มีหลักสูตรที่ได้รับความนิยมอยู่ 3 หลักสูตร คือ หลักสูตร A-Level (ระบบอังกฤษ) หลักสูตร AP (ระบบอเมริกัน) และหลักสูตร IB (ระบบสากลทั่วโลก) คุณพ่อคุณแม่ที่กำลังมองหาโรงเรียนนานาชาติให้ลูกอาจกำลังสับสันว่าแต่ละหลักสูตรต่างกันอย่างไร เลือกเรียนหลักสูตรไหนดี วันนี้เราได้รวบรวมข้อมูลของหลักสูตรการเรียนการสอนโรงเรียนนานาชาติมาให้คุณพ่อคุณแม่แล้วค่ะ ไปดูกันเลยว่าแต่ละแบบนั้นมีการสอนอย่างไร
- หลักสูตร A-Level
หลักสูตร A-Level เป็นหลักสูตร 2 ปี ที่เรียนในช่วง Year 12 – 13 หลังจากสอบ IGCSE ในระดับ Year 10 – 11 แล้ว เนื้อหาของ A level เข้มข้นเทียบเท่ากับการเรียนระดับอุดมศึกษาปี 1 ปี 2 ของมหาวิทยาลัยไทย หลักสูตร A-level แบ่งออกได้เป็น 2 ระดับ ดังนี้
- AS Examination เรียนในช่วง Year 12 จะต้องเลือกเรียน 4 วิชา ตามวิชาที่ถนัดและสอดคล้องกับการศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัย
- A2 Examination เรียนในช่วง Year 13 จะต้องเลือกเรียน 3-4 วิชา ตามวิชาที่ต่อเนื่องจาก AS Examination โดยเนื้อหาของ AS และ A2 จะต่อเนื่องกัน คือเริ่มจากเนื้อหาพื้นฐานในช่วง AS และลงลึกขึ้นในช่วง A2
การเลือกเรียนวิชาใน A-Level ควรเลือกเรียนวิชาที่สอดคล้องกับคณะวิชาที่จะเรียนในระดับมหาวิทยาลัย สมมุติว่า ลูกต้องการเข้าสมัครเรียนคณะวิศวกรรม ก็ควรเลือกเรียนวิชาคณิตศาสตร์ และฟิสิกส์ในระดับ A-Level เพราะถ้าหากไม่ได้เรียน 2 วิชานี้ มหาวิทยาลัยอาจปฏิเสธการสมัครเข้าคณะวิศวกรรมของลูกได้ ดังนั้นการเลือกเรียนวิชาในระดับ A-level ควรเลือกตรวจสอบก่อนว่าคณะที่ต้องการยื่นสมัครในระดับมหาวิทยาลัยต้องการผลสอบ A-level วิชาใดบ้าง เพื่อให้ได้วางแผนเรียนวิชา A-level ได้ตรงกับที่มหาวิทยาลัยต้องการ
หลักสูตร A-level เป็นระบบที่ได้รับความนิยมจากมหาวิทยาลัยในประเทศอังกฤษและเครือจักรภพ ถ้าหากต้องการเข้ายื่นสมัครมหาวิทยาลัยในอเมริกาหรือยุโรป อาจจะต้องใช้คะแนนสอบ SAT/ACT ควบคู่กับ A-Levels
- หลักสูตร AP (Advanced Placement)
เป็นโครงการเตรียมความพร้อมสำหรับโรงเรียนนานาชาติระบบอเมริกัน เพื่อใช้ในการยื่นเข้าศึกษาต่อมหาวิทยาลัย คนที่จะสอบหลักสูตร AP นี้ ไม่จำเป็นต้องเป็นเด็กที่เรียนในโรงเรียนระบบแบบ AP เท่านั้น หมายความว่า เราสามารถอ่านหนังสือเพื่อเตรียมสอบ AP เองได้
หลักสูตร AP มีเนื้อหาเข้มข้นเทียบเท่ากับเนื้อหาปี 1 ในระดับมหาวิทยาลัย ที่ใช้สำหรับยื่นสมัครเข้าเรียนต่อมหาวิทยาลัยของอเมริกาและแคนาดา นอกจากนี้ยังสามารถใช้เทียบโอนหน่วยกิตเพื่อยกเว้นการเรียนวิชานี้ในช่วงปี 1 ได้ สมมุติว่า ลูกอยากเข้าคณะวิศวกรรมศาสตร์ ลูกควรเรียนวิชาฟิสิกส์และคณิตศาสตร์ในระดับ AP ไว้ เพื่อใช้ยื่นสมัครเข้ามหาวิทยาลัยควบคู่กับคะแนน SAT/CAT ซึ่งคะแนน AP ยังใช้เทียบโอนหน่วยกิตในระดับปี 1 ได้อีกด้วย
- หลักสูตร IB (International Baccalaureate)
หลักสูตร IB เป็นระบบศึกษาแบบบูรณาการที่สามารถใช้ยื่นสมัครเข้าเรียนต่อในมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ทั่วโลกมากกว่า 125 ประเทศ หลักสูตร IB เรียนในช่วง 2 ปีสุดท้ายก่อนจบ High School มีวิชาเรียนบังคับทั้งหมด 6 วิชา จาก 6 กลุ่มวิชาความรู้ และต้องผ่านวิชาเงื่อนไข 3 วิชาหลัก คือ ToK (Theory of Knowledge), CAS (Creativity, Action, Service) และ (EE) Extended Essay หลักสูตร IB เป็นระบบการเรียนที่เน้นพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ ช่วยเหลือสังคม ควบคู่ความเข้มข้นทางวิชาการ พร้อมสนับสนุนการเรียนด้านความหลากหลายของวัฒนธรรมและภาษา
ตารางเปรียบเทียบของแต่ละหลักสูตร
หลักสูตรการศึกษา | หลักสูตร AP
ระบบอเมริกัน |
หลักสูตร A-level
ระบบอังกฤษ |
หลักสูตร IB
ระบบสากลทั่วโลก |
ระบบการเรียนการสอน | -ปฐมวัย เน้นเรียนรู้ผ่านกิจกรรมการเล่นและเรียนนอกห้องเรียน
-ระดับสูงขึ้น เน้นเรียนวิชาการควบคู่ทำกิจกรรม -เน้นเรียนรู้ตามความถนัดและค้นพบตนเองผ่านกิจกรรม |
-เน้นฝึก ภาษา อ่านเขียน และมารยาท ตั้งแต่ปฐมวัย
-เน้นเรียนวิชาการเข้มข้นกว่าหลักสูตรอเมริกัน -เนื้อหา ครอบคลุมวิชา เลข วิทย์ ประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ พลเมืองศึกษา และภาษาต่างประเทศ ฯ |
– เน้นการเรียนรู้แบบบูรณาการ ที่เน้นให้เด็กได้เรียนรู้ผ่านการค้นคว้า หาคำตอบ คิดวิเคราะห์ ด้วยตนเองผ่านการทำโครงการ CAS, EE และ ToK
-เป็นพหุวัฒนธรรมและความเป็นสากลที่เน้นการเรียนรู้ด้านความหลายหลายวัฒนาธรรมและภาษา |
ระบบการสอบ | สอบ SAT/ACT และเลือกเรียน AP เตรียมความพร้อม ตอน Grade 12 เพื่อยื่นสมัครมหาวิทยาลัย | สอบ IGCSE ตอน Year 10 -11 และเรียน A-levels ใน Year 12 -13 ในวิชาที่สอดคล้องกับคณะที่จะเรียนในมหาวิทยาลัย | สอบ 6 กลุ่มวิชาบังคับ และ 3 วิชาเงื่อนไข (Tok, CAS, EE) |
การเลือกว่าจะเรียนโรงเรียนนานาชาติหลักสูตรไหน ต้องเลือกเรียนในสูตรที่สอดคล้องกับมหาวิทยาลัยที่ลูกต้องการจะเรียน เพราะมหาวิทยาลัยแต่ละประเทศมีการยอมรับในแต่ละหลักสูตรที่แตกต่างกัน ดังนั้นการเลือกเรียนโรงเรียนนานาชาติ ต้องเลือกโรงเรียนที่มีระบบการเรียนการสอนที่สอดคล้องกันตั้งแต่ระดับประถมจนถึงมหาวิทยาลัย
Comments are closed.